สสส. กรุงเทพมาราธอน ครั้งที่18
ชื่องาน: สสส. กรุงเทพมาราธอน ครั้งที่18
วันที่: 27 พฤศจิกายน 2548
สถานที่: ณ บริเวณสนามไชย หน้าพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
สรุปผลการประเมิน: 75 คะแนน พอใช้ได้
เส้นทางการเดิน-วิ่ง: สำหรับระยะมาราธอน 42.195 กิโลเมตร เป็น loop course โดยเริ่มต้นจากถนนสนามไชยด้านหน้าพระบรมมหาราชวังวิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สะพานพระปิ่นเกล้า ต่อเนื่องไปสู่ถนนยกระดับชื่อ ถนนบรมราชชนนีไปในระยะทาง 15 กิโลเมตร แล้ววนกลับถนนด้านตรงกันข้ามเป็นรูปตัว U ตลอดมาจนถึงกิโลเมตรที่ 28 นักวิ่งจะได้ชมภาพทิวทัศน์ชานกรุงเทพ ในลักษณะ bird's eye view ตอนรุ่งอรุณก่อนที่จะวิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งหนึ่งบนสะพาน-พระราม 8 ในช่วงของบนถนนระยะประมาณเกือบ 15 กิโลเมตรสุดท้ายจะเป็นเส้นทางที่ร่มรื่นผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น อาคารรัฐสภา พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วัดเบญจมบพิตร พระบรมรูปทรงม้า ถนนราชดำเนิน ผ่านย่านชุมชน และแหล่งท่องเที่ยว จนเข้าสู่เส้นชัยหน้าพระบรมมหาราชวัง ณ ที่เดียวกับจุดเริ่มต้น กรุงเทพมาราธอน เป็นมาราธอนที่นักวิ่งให้ความนิยมมากที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเส้นทางการวิ่งที่ไม่ยากจนเกินไปนัก วิ่งยาวบนสะพานพระราม8 ซึ่งเส้นทางเกือบจะ 100 เปอร์เซนต์เป็นทางเรียบ ดังนั้นมาราธอนนี้จึงเหมาะกับนักวิ่งทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นแนวหน้า แนวกลาง หรือแม้แต่นักวิ่งน้องใหม่ที่สนใจประเดิมมาราธอนแรกในชีวิต
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง:
ในปีนี้คณะผู้จัดได้พยายามพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆที่มีผ่านอย่างจริงจัง ปัญหาและข้อบกพร่องในหลายๆ เรื่องได้ถูกแก้ไขไปได้มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องห้องน้ำ จุดให้น้ำ ปริมาณน้ำ รวมทั้งการปรับเวลาปล่อยตัวให้เร็วขึ้นสำหรับนักวิ่งแนวกลางและแนวหลังเพื่อแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการวิ่งบนถนนใจกลางกรุงเทพมหานคร แต่ถึงแม้จะปรับเวลาปล่อยตัวให้เร็วขึ้นก็ตามที ก็ยังมีนักวิ่งบางส่วนที่เข้าเส้นชัยหลังการปิดการจราจรอยู่ดี ดังนั้นสิ่งที่อยากแนะนำเพื่อนนักวิ่ง เพื่อที่จะได้วิ่งอย่างมีความสุขในสนามมาราธอนแห่งนี้ นั่นก็คือ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักวิ่งกลุ่มไหนก็ตามที ควรพยายามวิ่งให้เข้าเส้นชัยก่อนเวลา 08.00 น. เพราะหลังจากเวลา 08.00น. เส้นทางการแข่งขันบางส่วนจะเริ่มเปิดให้มีการสัญจรไปมา ถึงแม้จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูและแต่ก็ดูจะไม่ปลอดภัยกับนักวิ่งซักเท่าไหร่นัก
เมื่อมีการปล่อยตัวให้เหลื่อมเวลาสำหรับนักวิ่งแนวหน้าและนักวิ่งเพื่อสุขภาพ นักวิ่งควรจะประเมินศักยภาพในการวิ่งของตัวท่านเองให้เหมาะสมว่าท่านควรอยู่ในกลุ่มไหน เพื่อที่เจ้าหน้าจะได้ทำงานได้สะดวกขึ้น และเป็นประโยชน์โดยรวม หากคุณเป็นนักวิ่งน้องใหม่ หรือนักวิ่งเพื่อสุขภาพ ที่สนใจจะร่วมวิ่งสนามนี้ควรทำการฝึกซ้อมให้พร้อม หากท่านฝึกซ้อมไม่พร้อม หรือคิดแล้วว่าหากปล่อยตัวเวลา 02.00 น. ท่านยังไม่สามารถเข้าสู่เส้นชัยภายใน 08.00 น. หรือใช้เวลาวิ่งภายใน 6 ชั่วโมง ก็ควรเลี่ยงสนามนี้ เพราะยังมีมาราธอนอีกหลายๆสนาม ที่ท่านสามารถใช้เวลาในการวิ่งเกิน 6 ชั่วโมงเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง ดีกว่าจะเอาชีวิตมาเสี่ยง เพราะหลังจาก 08.00 น. สังเกตได้ว่าการจราจรบางส่วนได้เปิดใช้ รถที่สัญจรไปมาวิ่งกันอย่างไม่แยแส หรือระวังนักวิ่งแต่อย่างใดเลย แม้จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลก็ตาม
คำแนะนำสำหรับผู้จัด:
สำหรับ สสส. กรุงเทพมาราธอน ครั้งที่ 18 คณะผู้จัดได้ทำการแก้ไขและปรับปรุงจุดบกพร่องต่างๆที่ผ่านมา ได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการปล่อยตัวก่อนเวลาการแข่งขันของนักวิ่งเพื่อสุขภาพที่สนใจลงมาราธอนให้เร็วขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการวิ่งบนท้องถนนที่ไม่ได้ปิดการจราจรก็เป็นสิ่งที่ได้ผลดีพอสมควร แต่ถึงแม้จะมีการปล่อยตัวให้เร็วขึ้น ก็พบว่ายังมีนักวิ่งบางส่วนที่ต้องวิ่งบนถนนที่มีการจราจรอยู่ดี ดังนั้นหากมีความเป็นไปได้เพื่อให้มีการปิดถนนได้นานขึ้น เส้นทางการวิ่งในช่วงสุดท้ายควรเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นที่สามารถปิดถนนได้ 100 เปอร์เซนต์จะดีกว่า หากการเปลี่ยนเส้นในช่วงสุดท้ายเป็นไปไม่ได้ ผู้จัดควรกำหนด Qualified Time ให้อยู่ภายในเวลาที่สามารถจะทำการปิดถนนได้ 100 เปอร์เซนต์จะดีกว่า
คำแนะนำถัดมาคือเรื่องอาหารสำหรับนักวิ่ง และอาหารสำหรับนักวิ่งมาราธอน เป็นครั้งแรกที่ได้สังเกตเห็นเพราะทุกครั้งที่ร่วมงานวิ่งกรุงเทพมาราธอนจะเป็นนักวิ่งเสียเอง แต่วันนี้ของดเป็นนักวิ่งมาเป็นผู้สังเกตการ์ณซักครั้ง พบว่าเมื่อนักวิ่งมาราธอน นักวิ่งมินิมาราธอน และเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพออกไปจากจุดสตาร์ทแล้ว บริเวณซุ้มอาหารมีการจัดเตรียมอาหารให้นักวิ่งกันแล้ว และก็มีผู้ใช้บริการจำนวนมากซึ่งไม่ใช่นักวิ่ง อันนี้ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อาหารไม่เพียงพอสำหรับนักวิ่ง และก็ดูเหมือนผู้ที่จัดเตรียมอาหารก็ลำบากใจที่จะปฏิเสธเช่นกัน สำหรับมาราธอนนอกจากจะเข้าเส้นชัยช้ากว่าระยะอื่นๆ เข้าเส้นชัยมาอาหารก็หมด หรือหากไม่หมดก็ต้องไปยืนต่อคิวยาว..... วิ่งมาก็เหนื่อยล้ากันพอดู ยังต้องมาต่อคิวอีกคงไม่ไหวแน่ ดังนั้นการเตรียมอาหารบางส่วนสำหรับนักวิ่งมาราธอนเมื่อเข้าเส้นชัยก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก ไม่ว่าจะเป็นใส่ถุงให้ขณะเข้าเส้น หรือใช้คูปองสำหรับนักวิ่งมาราธอนแล้วไปรับอาหารที่จุดเฉพาะกิจสำหรับมาราธอน
การส่งเสริมให้มีกิจกรรมกองเชียร์จากโรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ เป็นสิ่งที่ดี แต่นักเรียน นักศึกษาบางกลุ่มก็ยังไม่เข้าใจว่านักวิ่งกลุ่มไหนต้องการกำลังใจ ยิ่งนักวิ่งกลุ่มหลังๆต้องการแรงใจแรงเชียร์เป็นอย่างมากแต่กองเชียร์เริ่มร้อน เริ่มไม่สนุก บางจุดนักวิ่งแทบจะเดินชนกองเชียร์ จะให้ดีผู้จัดควรส่งเสริมให้ชมรมวิ่งต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น ไม่ว่าจะให้ชมรมวิ่งมีการจัดเตรียมกองเชียร์หรือมีการจูงใจด้วยการจัดประกวดกองเชียร์ชมรมวิ่งซึ่งไม่จำเป็นต้องมีรางวัลมากมาย อาจเป็นถ้วยรางวัลหรือโล่ห์ให้กับผู้ชนะไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งกองเชียร์ที่มาจากนักวิ่งด้วยกันเองก็จะเข้าใจนักวิ่งด้วยกันมากขึ้นด้วย แถมนักวิ่งมาจากทั่วสารทิศ ทั้งเหนือ ใต้ กลาง อิสาน ดังนั้นกองเชียร์ก็จะมีความหลากหลาย ศิลปวัฒนธรรมของแต่ละภาคพวกเรานักวิ่งก็จะได้แลกเปลี่ยนกันชมไปด้วยอีกต่างหาก
และนี่เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผล สสส. กรุงเทพมาราธอน ครั้งที่ 18 ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้จัดในการปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องในครั้งต่อไป และหวังว่า กรุงเทพมาราธอน จะเป็นสนามที่ประทับใจนักวิ่งมากขึ้นสมเป็นสนามมาราธอนของประเทศไทยที่ใครก็รู้จัก และอยากมาสัมผัส
วันที่: 27 พฤศจิกายน 2548
สถานที่: ณ บริเวณสนามไชย หน้าพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
สรุปผลการประเมิน: 75 คะแนน พอใช้ได้
เส้นทางการเดิน-วิ่ง: สำหรับระยะมาราธอน 42.195 กิโลเมตร เป็น loop course โดยเริ่มต้นจากถนนสนามไชยด้านหน้าพระบรมมหาราชวังวิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สะพานพระปิ่นเกล้า ต่อเนื่องไปสู่ถนนยกระดับชื่อ ถนนบรมราชชนนีไปในระยะทาง 15 กิโลเมตร แล้ววนกลับถนนด้านตรงกันข้ามเป็นรูปตัว U ตลอดมาจนถึงกิโลเมตรที่ 28 นักวิ่งจะได้ชมภาพทิวทัศน์ชานกรุงเทพ ในลักษณะ bird's eye view ตอนรุ่งอรุณก่อนที่จะวิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งหนึ่งบนสะพาน-พระราม 8 ในช่วงของบนถนนระยะประมาณเกือบ 15 กิโลเมตรสุดท้ายจะเป็นเส้นทางที่ร่มรื่นผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น อาคารรัฐสภา พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วัดเบญจมบพิตร พระบรมรูปทรงม้า ถนนราชดำเนิน ผ่านย่านชุมชน และแหล่งท่องเที่ยว จนเข้าสู่เส้นชัยหน้าพระบรมมหาราชวัง ณ ที่เดียวกับจุดเริ่มต้น กรุงเทพมาราธอน เป็นมาราธอนที่นักวิ่งให้ความนิยมมากที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเส้นทางการวิ่งที่ไม่ยากจนเกินไปนัก วิ่งยาวบนสะพานพระราม8 ซึ่งเส้นทางเกือบจะ 100 เปอร์เซนต์เป็นทางเรียบ ดังนั้นมาราธอนนี้จึงเหมาะกับนักวิ่งทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นแนวหน้า แนวกลาง หรือแม้แต่นักวิ่งน้องใหม่ที่สนใจประเดิมมาราธอนแรกในชีวิต
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง:
ในปีนี้คณะผู้จัดได้พยายามพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆที่มีผ่านอย่างจริงจัง ปัญหาและข้อบกพร่องในหลายๆ เรื่องได้ถูกแก้ไขไปได้มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องห้องน้ำ จุดให้น้ำ ปริมาณน้ำ รวมทั้งการปรับเวลาปล่อยตัวให้เร็วขึ้นสำหรับนักวิ่งแนวกลางและแนวหลังเพื่อแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการวิ่งบนถนนใจกลางกรุงเทพมหานคร แต่ถึงแม้จะปรับเวลาปล่อยตัวให้เร็วขึ้นก็ตามที ก็ยังมีนักวิ่งบางส่วนที่เข้าเส้นชัยหลังการปิดการจราจรอยู่ดี ดังนั้นสิ่งที่อยากแนะนำเพื่อนนักวิ่ง เพื่อที่จะได้วิ่งอย่างมีความสุขในสนามมาราธอนแห่งนี้ นั่นก็คือ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักวิ่งกลุ่มไหนก็ตามที ควรพยายามวิ่งให้เข้าเส้นชัยก่อนเวลา 08.00 น. เพราะหลังจากเวลา 08.00น. เส้นทางการแข่งขันบางส่วนจะเริ่มเปิดให้มีการสัญจรไปมา ถึงแม้จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูและแต่ก็ดูจะไม่ปลอดภัยกับนักวิ่งซักเท่าไหร่นัก
เมื่อมีการปล่อยตัวให้เหลื่อมเวลาสำหรับนักวิ่งแนวหน้าและนักวิ่งเพื่อสุขภาพ นักวิ่งควรจะประเมินศักยภาพในการวิ่งของตัวท่านเองให้เหมาะสมว่าท่านควรอยู่ในกลุ่มไหน เพื่อที่เจ้าหน้าจะได้ทำงานได้สะดวกขึ้น และเป็นประโยชน์โดยรวม หากคุณเป็นนักวิ่งน้องใหม่ หรือนักวิ่งเพื่อสุขภาพ ที่สนใจจะร่วมวิ่งสนามนี้ควรทำการฝึกซ้อมให้พร้อม หากท่านฝึกซ้อมไม่พร้อม หรือคิดแล้วว่าหากปล่อยตัวเวลา 02.00 น. ท่านยังไม่สามารถเข้าสู่เส้นชัยภายใน 08.00 น. หรือใช้เวลาวิ่งภายใน 6 ชั่วโมง ก็ควรเลี่ยงสนามนี้ เพราะยังมีมาราธอนอีกหลายๆสนาม ที่ท่านสามารถใช้เวลาในการวิ่งเกิน 6 ชั่วโมงเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง ดีกว่าจะเอาชีวิตมาเสี่ยง เพราะหลังจาก 08.00 น. สังเกตได้ว่าการจราจรบางส่วนได้เปิดใช้ รถที่สัญจรไปมาวิ่งกันอย่างไม่แยแส หรือระวังนักวิ่งแต่อย่างใดเลย แม้จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลก็ตาม
คำแนะนำสำหรับผู้จัด:
สำหรับ สสส. กรุงเทพมาราธอน ครั้งที่ 18 คณะผู้จัดได้ทำการแก้ไขและปรับปรุงจุดบกพร่องต่างๆที่ผ่านมา ได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการปล่อยตัวก่อนเวลาการแข่งขันของนักวิ่งเพื่อสุขภาพที่สนใจลงมาราธอนให้เร็วขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการวิ่งบนท้องถนนที่ไม่ได้ปิดการจราจรก็เป็นสิ่งที่ได้ผลดีพอสมควร แต่ถึงแม้จะมีการปล่อยตัวให้เร็วขึ้น ก็พบว่ายังมีนักวิ่งบางส่วนที่ต้องวิ่งบนถนนที่มีการจราจรอยู่ดี ดังนั้นหากมีความเป็นไปได้เพื่อให้มีการปิดถนนได้นานขึ้น เส้นทางการวิ่งในช่วงสุดท้ายควรเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นที่สามารถปิดถนนได้ 100 เปอร์เซนต์จะดีกว่า หากการเปลี่ยนเส้นในช่วงสุดท้ายเป็นไปไม่ได้ ผู้จัดควรกำหนด Qualified Time ให้อยู่ภายในเวลาที่สามารถจะทำการปิดถนนได้ 100 เปอร์เซนต์จะดีกว่า
คำแนะนำถัดมาคือเรื่องอาหารสำหรับนักวิ่ง และอาหารสำหรับนักวิ่งมาราธอน เป็นครั้งแรกที่ได้สังเกตเห็นเพราะทุกครั้งที่ร่วมงานวิ่งกรุงเทพมาราธอนจะเป็นนักวิ่งเสียเอง แต่วันนี้ของดเป็นนักวิ่งมาเป็นผู้สังเกตการ์ณซักครั้ง พบว่าเมื่อนักวิ่งมาราธอน นักวิ่งมินิมาราธอน และเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพออกไปจากจุดสตาร์ทแล้ว บริเวณซุ้มอาหารมีการจัดเตรียมอาหารให้นักวิ่งกันแล้ว และก็มีผู้ใช้บริการจำนวนมากซึ่งไม่ใช่นักวิ่ง อันนี้ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อาหารไม่เพียงพอสำหรับนักวิ่ง และก็ดูเหมือนผู้ที่จัดเตรียมอาหารก็ลำบากใจที่จะปฏิเสธเช่นกัน สำหรับมาราธอนนอกจากจะเข้าเส้นชัยช้ากว่าระยะอื่นๆ เข้าเส้นชัยมาอาหารก็หมด หรือหากไม่หมดก็ต้องไปยืนต่อคิวยาว..... วิ่งมาก็เหนื่อยล้ากันพอดู ยังต้องมาต่อคิวอีกคงไม่ไหวแน่ ดังนั้นการเตรียมอาหารบางส่วนสำหรับนักวิ่งมาราธอนเมื่อเข้าเส้นชัยก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก ไม่ว่าจะเป็นใส่ถุงให้ขณะเข้าเส้น หรือใช้คูปองสำหรับนักวิ่งมาราธอนแล้วไปรับอาหารที่จุดเฉพาะกิจสำหรับมาราธอน
การส่งเสริมให้มีกิจกรรมกองเชียร์จากโรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ เป็นสิ่งที่ดี แต่นักเรียน นักศึกษาบางกลุ่มก็ยังไม่เข้าใจว่านักวิ่งกลุ่มไหนต้องการกำลังใจ ยิ่งนักวิ่งกลุ่มหลังๆต้องการแรงใจแรงเชียร์เป็นอย่างมากแต่กองเชียร์เริ่มร้อน เริ่มไม่สนุก บางจุดนักวิ่งแทบจะเดินชนกองเชียร์ จะให้ดีผู้จัดควรส่งเสริมให้ชมรมวิ่งต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น ไม่ว่าจะให้ชมรมวิ่งมีการจัดเตรียมกองเชียร์หรือมีการจูงใจด้วยการจัดประกวดกองเชียร์ชมรมวิ่งซึ่งไม่จำเป็นต้องมีรางวัลมากมาย อาจเป็นถ้วยรางวัลหรือโล่ห์ให้กับผู้ชนะไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งกองเชียร์ที่มาจากนักวิ่งด้วยกันเองก็จะเข้าใจนักวิ่งด้วยกันมากขึ้นด้วย แถมนักวิ่งมาจากทั่วสารทิศ ทั้งเหนือ ใต้ กลาง อิสาน ดังนั้นกองเชียร์ก็จะมีความหลากหลาย ศิลปวัฒนธรรมของแต่ละภาคพวกเรานักวิ่งก็จะได้แลกเปลี่ยนกันชมไปด้วยอีกต่างหาก
และนี่เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผล สสส. กรุงเทพมาราธอน ครั้งที่ 18 ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้จัดในการปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องในครั้งต่อไป และหวังว่า กรุงเทพมาราธอน จะเป็นสนามที่ประทับใจนักวิ่งมากขึ้นสมเป็นสนามมาราธอนของประเทศไทยที่ใครก็รู้จัก และอยากมาสัมผัส
Labels: กรุงเทพ, งานวิ่ง, ประเมินสนามวิ่ง, มาราธอนนานาชาติ, อัลตร้ามาราธอน
Post a Comment