80 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีมาราธอน
ชื่องาน: 80 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีมาราธอน
วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2549
สถานที่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
สรุปผลการประเมิน: 77 คะแนน เกือบดี
เส้นทางการเดิน-วิ่ง:
สำหรับสนามมาราธอนไม่โหดมากนัก เป็นทางเรียบเกือบร้อยเปอร์เซนต์ มีสะพานไม่สูงมากนักเพียงสะพานเดียว เรียกว่าเหมาะกับนักวิ่งทุกระดับ เส้นทางดูเหมือนจะติดทะเล แต่วิ่งๆไปรู้สึกเหมือนไปวิ่งนครพนมมาราธอนยังไงไม่รู้ เพราะนอกจากจะส่วนเส้นทางวิ่งจะไม่ค่อยได้สัมผัสวิวทิวทัศน์ของความเป็นทะเลซักเท่าไหร่ แต่เส้นทางยาววิ่งตรงไปสุดตา ข้างทางก็เป็นท้องทุ่งนา มีต้นตาลเรียงรายให้รู้ว่านี่เป็นดินแดนแห่งเมืองเพชรแน่นอน เส้นทางการวิ่งเป็นการวิ่งไป-กลับ มีจุดให้น้ำพร้อมป้ายบอกระยะทุกๆ 2 กิโล ดังนั้นป้ายบอกระยะทั้งไปและกลับใช้ป้ายอันเดียวกัน ขาไปก็บอกระยะทาง ขากลับก็บอกระยะที่เหลือ เอาแบบง่ายๆ แต่นักวิ่งเข้าใจแถมเป็นการประหยัดไปในตัว
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง:
สำหรับสนามนี้คงไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ขอให้นักวิ่งฝึกซ้อมตัวเองมาบ้างสนามนี้ก็ไม่ยากเลย วิ่งกันสบายๆ แต่มีสิ่งหนึ่งที่อยากนำมาเล่าสู่กันฟัง เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ประสบพบเห็นระหว่างการแข่งขัน.... การวิ่งมาราธอนนักวิ่งด้วยกันย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เวลาวิ่งก็ย่อมเหนื่อยล้า เป็นเรื่องธรรมดา แต่การที่เรารู้สึกว่าผู้จัด ทำไอ้นั่นไม่ดี ทำไอ้นี่ไม่พร้อม แล้วก็มาระบายอารมณ์กับนักเรียนนักศึกษา หรืออาสาสมัครต่างๆ ด้วยคำพูดแรงๆระหว่างการแข่งขันดิฉันคิดว่านั่นไม่เป็นการสมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะเค้าเหล่านั้นยอมเสียสละเวลาตื่นแต่ดึกแต่ดื่นทั้งที่ไม่ใช่กิจวัตรของเค้า ต้องมาให้น้ำ มาคอยดูแลเราระหว่างการแข่งขัน และเค้าก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก แต่กับต้องมาโดนว่า หรือประมาณว่าด่าฝากอะไรทำนองนั้น... เค้าอุตส่าห์มาให้บริการเรา ดูแลเรา ตอบแทนเค้าด้วยคำพูดดีๆจะดีกว่าเยอะเลย แทนที่เค้าจะชังน้ำหน้านักวิ่ง เค้าอาจจะอยากออกมาวิ่งกับเราบ้างด้วยซ้ำไปเพราะวิ่งแล้วอารมณ์ หนุ่มขึ้น สาวขึ้น แข็งแรงกันทุกคน พอเข้าเส้นชัยมาคุณอยากจะระบายอะไรก็เชิญละทีนี้ แต่ขึ้คร้านจะบ่นจะว่าเพราะหมดแรงซะแล้ว....
คำแนะนำสำหรับผู้จัด:
งานนี้เป็นการจัดวิ่งมาราธอนครั้งแรก ที่ใช้ชื่อว่า 80 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีมาราธอน ก็ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ทำได้ดีพอสมควรถึงแม้จะมีข้อบกพร่องไปบ้างก็ตาม การจัดมาราธอนไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย เพราะนักวิ่งใช้เวลาการบนเส้นทางวิ่งกันอย่างน้อยๆก็ 3 ชั่วโมง สำหรับนักวิ่งทั่วไป 4-6 ชั่วโมง ซึ่งระยะทางการวิ่งก็ยาวพอสมควรเจ้าหน้าที่ตามเส้นทางการแข่งขันก็ต้องใช้มากกว่าการจัดวิ่งระยะอื่นๆ จุดบริการนวดระหว่างเส้นทางก็ควรมีสำหรับระยะมาราธอน สิ่งสำคัญที่อยากแนะนำสำหรับทีมงานเพชรบุรีมาราธอนในครั้งนี้
ข้อที่ 1 คือเส้นทางการแข่งขัน เส้นทางการแข่งขันยังไม่มีจุดเด่นมากนักแม้จะเลือกวิ่งไปตามเส้นทางหาดเจ้าสำราญและหาดปึกเตียน แต่ว่าถนนค่อนข้างจะห่างกับหาดพอสมควรทำให้นักวิ่งไม่ได้เห็นทัศนียภาพของชายหาดเลย หากเปลี่ยนเส้นทางย้อนกลับไปขึ้นเขาวัง อาจจะทำให้เส้นทางเป็นเอกลักษณ์ได้มากขึ้น ท้าทายความสามารถของนักวิ่งมาราธอนมากขึ้นกว่านี้
ข้อที่ 2 ความพร้อมในการจัดวิ่งทั้ง 3 ระยะ มินิ ฮาล์ฟ และ มาราธอน ซึ่งเป็นการจัดครั้งแรกดูเหมือนจะยังไม่พร้อมเท่าที่ควรดังนั้นการจัดเพียง 2 ระยะ ระยะสั้นและยาวอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างฮาล์ฟหรือมาราธอนจะช่วยให้ผู้จัดทำงานไม่โหลดมากนัก มีคุณภาพมากขึ้น เมื่อมีความพร้อมแล้วจึงค่อยจัดทั้ง 3 ระยะก็จะช่วยให้งานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อที่ 3 วันเวลาการจัดงาน เนื่องจากการจัดมาราธอนเป็นการแข่งขันวิ่งระยะยาวที่นักวิ่งต้องมีการฝึกซ้อมกันเป็นอย่างดี และในปัจจุบันนักวิ่งระยะยาวในบ้านเรายังมีไม่มากนัก คนที่จะวิ่งยาวกันเป็นประจำก็จะมีหน้าเดิมๆ หน้าใหม่ๆก็นานๆทีจะออกมาวิ่ง ออกมาก็จะออกมาวิ่งสนามที่จัดเป็นประจำหรืองานใหญ่ๆ ดังนั้นสนามมาราธอนใหม่ๆก็จะต้องเน้นไปที่นักวิ่งหน้าเก่าซะมากกว่า ดังนั้นการจัดงานชนกับงานวิ่งระยะยาวสนามอื่นๆควรเลี่ยงที่สุด เพื่อให้มีนักวิ่งมาร่วมงานกันมากขึ้น
และสิ่งที่ต้องยกนิ้วให้ก็คือ จุดให้น้ำทุกๆ 2 กิโลที่มีผลไม้สดๆให้นักวิ่งได้อิ่มอร่อยกันตลอดทาง พร้อมทั้งอาหารเลี้ยงต้อนรับเย็นวันเสาร์ที่มีให้เลือกอิ่มอร่อยกันมากมาย และที่สำคัญคือน้ำใจของผู้จัดและน้องนักศึกษาที่มาคอยให้บริการ ให้กำลังใจนักวิ่งจนคนสุดท้ายเข้าสู่เส้นชัย รอจนนักวิ่งคนสุดท้ายเข้าเส้นชัย หากเราเป็นนักวิ่งคนสุดท้ายที่เข้าเส้นชัยในวันนั้น บอกได้เลยว่าไม่ผิดหวังจริงๆ
สุดท้ายอยากบอกว่าอยากให้สนามนี้อยู่คู่ไปกับนักวิ่งต่อไปนะคะ อย่าเพิ่งหมดกำลังใจไปเสียก่อน อย่าเพิ่งท้อ ทุกสิ่งมันพลาดกันได้ ครั้งแรกมันย่อมผิดพลาดเราให้อภัยกัน ครั้งต่อไปย่อมดีกว่าเก่าแน่นอนจ้า
วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2549
สถานที่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
สรุปผลการประเมิน: 77 คะแนน เกือบดี
เส้นทางการเดิน-วิ่ง:
สำหรับสนามมาราธอนไม่โหดมากนัก เป็นทางเรียบเกือบร้อยเปอร์เซนต์ มีสะพานไม่สูงมากนักเพียงสะพานเดียว เรียกว่าเหมาะกับนักวิ่งทุกระดับ เส้นทางดูเหมือนจะติดทะเล แต่วิ่งๆไปรู้สึกเหมือนไปวิ่งนครพนมมาราธอนยังไงไม่รู้ เพราะนอกจากจะส่วนเส้นทางวิ่งจะไม่ค่อยได้สัมผัสวิวทิวทัศน์ของความเป็นทะเลซักเท่าไหร่ แต่เส้นทางยาววิ่งตรงไปสุดตา ข้างทางก็เป็นท้องทุ่งนา มีต้นตาลเรียงรายให้รู้ว่านี่เป็นดินแดนแห่งเมืองเพชรแน่นอน เส้นทางการวิ่งเป็นการวิ่งไป-กลับ มีจุดให้น้ำพร้อมป้ายบอกระยะทุกๆ 2 กิโล ดังนั้นป้ายบอกระยะทั้งไปและกลับใช้ป้ายอันเดียวกัน ขาไปก็บอกระยะทาง ขากลับก็บอกระยะที่เหลือ เอาแบบง่ายๆ แต่นักวิ่งเข้าใจแถมเป็นการประหยัดไปในตัว
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง:
สำหรับสนามนี้คงไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ขอให้นักวิ่งฝึกซ้อมตัวเองมาบ้างสนามนี้ก็ไม่ยากเลย วิ่งกันสบายๆ แต่มีสิ่งหนึ่งที่อยากนำมาเล่าสู่กันฟัง เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ประสบพบเห็นระหว่างการแข่งขัน.... การวิ่งมาราธอนนักวิ่งด้วยกันย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เวลาวิ่งก็ย่อมเหนื่อยล้า เป็นเรื่องธรรมดา แต่การที่เรารู้สึกว่าผู้จัด ทำไอ้นั่นไม่ดี ทำไอ้นี่ไม่พร้อม แล้วก็มาระบายอารมณ์กับนักเรียนนักศึกษา หรืออาสาสมัครต่างๆ ด้วยคำพูดแรงๆระหว่างการแข่งขันดิฉันคิดว่านั่นไม่เป็นการสมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะเค้าเหล่านั้นยอมเสียสละเวลาตื่นแต่ดึกแต่ดื่นทั้งที่ไม่ใช่กิจวัตรของเค้า ต้องมาให้น้ำ มาคอยดูแลเราระหว่างการแข่งขัน และเค้าก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก แต่กับต้องมาโดนว่า หรือประมาณว่าด่าฝากอะไรทำนองนั้น... เค้าอุตส่าห์มาให้บริการเรา ดูแลเรา ตอบแทนเค้าด้วยคำพูดดีๆจะดีกว่าเยอะเลย แทนที่เค้าจะชังน้ำหน้านักวิ่ง เค้าอาจจะอยากออกมาวิ่งกับเราบ้างด้วยซ้ำไปเพราะวิ่งแล้วอารมณ์ หนุ่มขึ้น สาวขึ้น แข็งแรงกันทุกคน พอเข้าเส้นชัยมาคุณอยากจะระบายอะไรก็เชิญละทีนี้ แต่ขึ้คร้านจะบ่นจะว่าเพราะหมดแรงซะแล้ว....
คำแนะนำสำหรับผู้จัด:
งานนี้เป็นการจัดวิ่งมาราธอนครั้งแรก ที่ใช้ชื่อว่า 80 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีมาราธอน ก็ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ทำได้ดีพอสมควรถึงแม้จะมีข้อบกพร่องไปบ้างก็ตาม การจัดมาราธอนไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย เพราะนักวิ่งใช้เวลาการบนเส้นทางวิ่งกันอย่างน้อยๆก็ 3 ชั่วโมง สำหรับนักวิ่งทั่วไป 4-6 ชั่วโมง ซึ่งระยะทางการวิ่งก็ยาวพอสมควรเจ้าหน้าที่ตามเส้นทางการแข่งขันก็ต้องใช้มากกว่าการจัดวิ่งระยะอื่นๆ จุดบริการนวดระหว่างเส้นทางก็ควรมีสำหรับระยะมาราธอน สิ่งสำคัญที่อยากแนะนำสำหรับทีมงานเพชรบุรีมาราธอนในครั้งนี้
ข้อที่ 1 คือเส้นทางการแข่งขัน เส้นทางการแข่งขันยังไม่มีจุดเด่นมากนักแม้จะเลือกวิ่งไปตามเส้นทางหาดเจ้าสำราญและหาดปึกเตียน แต่ว่าถนนค่อนข้างจะห่างกับหาดพอสมควรทำให้นักวิ่งไม่ได้เห็นทัศนียภาพของชายหาดเลย หากเปลี่ยนเส้นทางย้อนกลับไปขึ้นเขาวัง อาจจะทำให้เส้นทางเป็นเอกลักษณ์ได้มากขึ้น ท้าทายความสามารถของนักวิ่งมาราธอนมากขึ้นกว่านี้
ข้อที่ 2 ความพร้อมในการจัดวิ่งทั้ง 3 ระยะ มินิ ฮาล์ฟ และ มาราธอน ซึ่งเป็นการจัดครั้งแรกดูเหมือนจะยังไม่พร้อมเท่าที่ควรดังนั้นการจัดเพียง 2 ระยะ ระยะสั้นและยาวอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างฮาล์ฟหรือมาราธอนจะช่วยให้ผู้จัดทำงานไม่โหลดมากนัก มีคุณภาพมากขึ้น เมื่อมีความพร้อมแล้วจึงค่อยจัดทั้ง 3 ระยะก็จะช่วยให้งานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อที่ 3 วันเวลาการจัดงาน เนื่องจากการจัดมาราธอนเป็นการแข่งขันวิ่งระยะยาวที่นักวิ่งต้องมีการฝึกซ้อมกันเป็นอย่างดี และในปัจจุบันนักวิ่งระยะยาวในบ้านเรายังมีไม่มากนัก คนที่จะวิ่งยาวกันเป็นประจำก็จะมีหน้าเดิมๆ หน้าใหม่ๆก็นานๆทีจะออกมาวิ่ง ออกมาก็จะออกมาวิ่งสนามที่จัดเป็นประจำหรืองานใหญ่ๆ ดังนั้นสนามมาราธอนใหม่ๆก็จะต้องเน้นไปที่นักวิ่งหน้าเก่าซะมากกว่า ดังนั้นการจัดงานชนกับงานวิ่งระยะยาวสนามอื่นๆควรเลี่ยงที่สุด เพื่อให้มีนักวิ่งมาร่วมงานกันมากขึ้น
และสิ่งที่ต้องยกนิ้วให้ก็คือ จุดให้น้ำทุกๆ 2 กิโลที่มีผลไม้สดๆให้นักวิ่งได้อิ่มอร่อยกันตลอดทาง พร้อมทั้งอาหารเลี้ยงต้อนรับเย็นวันเสาร์ที่มีให้เลือกอิ่มอร่อยกันมากมาย และที่สำคัญคือน้ำใจของผู้จัดและน้องนักศึกษาที่มาคอยให้บริการ ให้กำลังใจนักวิ่งจนคนสุดท้ายเข้าสู่เส้นชัย รอจนนักวิ่งคนสุดท้ายเข้าเส้นชัย หากเราเป็นนักวิ่งคนสุดท้ายที่เข้าเส้นชัยในวันนั้น บอกได้เลยว่าไม่ผิดหวังจริงๆ
สุดท้ายอยากบอกว่าอยากให้สนามนี้อยู่คู่ไปกับนักวิ่งต่อไปนะคะ อย่าเพิ่งหมดกำลังใจไปเสียก่อน อย่าเพิ่งท้อ ทุกสิ่งมันพลาดกันได้ ครั้งแรกมันย่อมผิดพลาดเราให้อภัยกัน ครั้งต่อไปย่อมดีกว่าเก่าแน่นอนจ้า
Labels: งานวิ่ง, จ.เพชรบุรี, ประเมินสนามวิ่ง, มาราธอน
nike shoes
yeezy boost
yeezy boost 350
yeezy boost 700
fila shoes
calvin klein underwear
jordan shoes
yeezys
nike shox for men
christian louboutin
Posted by yanmaneee | August 15, 2019 at 6:44 PM