ไทย-ลาว (หนองคาย) มาราธอน
ไทย-ลาว (หนองคาย) มาราธอน
อาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2549
ณ อนุเสาวรีย์ปราบฮ่อ จ.หนองคาย
สรุปผลการประเมิน TRES: 75 คะแนน ใช้ได้ เกือบดี
เส้นทางการเดิน-วิ่ง: หนองคายมาราธอนปีนี้ปล่อยตัวเวลา 04.00 น. เส้นทางการแข่งขันสำหรับมาราธอนออกสตาร์ทจากอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ เลี้ยวไปเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว วิ่งย้อนกลับมาผ่านหน้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองบคาย เลี้ยงขวามาทางอุดรฯ กลับตัว กม. ที่15 แล้วย้อนกลับเข้าตัวเมืองหนองคาย เส้นทางการแข่งขันโดยส่วนใหญ่วิ่งบนไหล่ถนนลาดยางมีเนินสลับกับทางเรียบ การควบคุมการจราจรค่อนข้างดี ตามไหล่ทางก็ไม่มีเงาร่มไม้ให้หลบงานนี้ระยะมาราธอนก็วิ่งตากแดดเป็นเนื้อแดดเดียวกันไป ระหว่างเส้นทางการแข่งขันจุดให้น้ำมีบริการน้ำเย็นตลอด น้ำไม่มีขาด ส่วนที่ขาดก็คงจะเป็นป้ายบอกระยะที่บอกระยะขาดไปนิดหน่อยๆในช่วงต้นๆ เลยส่งผลให้ 1 กิโลสุดท้ายที่จะเข้าเส้นชัย กลายเป็น 2 กิโลกว่าๆเกือบ 3 กิโล
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง: งานวิ่งหนองคาย (ไทย-ลาว) มาราธอนในครั้งนี้จัดขึ้นถึง 4 ระยะ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 10 21 และ 42 กม. ดังนั้นนักวิ่งทุกระดับไม่ว่าจะเป็นน้องใหม่หรือผู้เจนสังเวียนสามารถร่วมวิ่งงานนี้ได้ เส้นทางก็ไม่ยากเกินไปนัก แต่หากนักวิ่งท่านใดที่ลงในระยะมาราธอนก็อาจจะต้องทนร้อนกันนิดๆหน่อยๆเท่านั้นเอง
คำแนะนำสำหรับผู้จัด: งานนี้ภาพโดยรวมจัดได้ดีพอสมควร แต่เป็นที่น่าเสียดายที่นักวิ่งร่วมงานไม่มากนัก เพื่อให้งานวิ่งหนองคายหรือที่ผู้จัดอยากให้เป็นไทย-ลาวมาราธอน ประเด็นหลักที่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจของนักวิ่งที่จะเข้าร่วมงานนี้ นั่นคือเส้นทางการวิ่ง เส้นทางการวิ่งในครั้งนี้ยังเป็นเส้นทางที่ยังไม่เด่นมากนัก เป็นเส้นทางที่วิ่งบนไหล่ถนนในตัวจังหวัดหนองคาย เริ่มต้นและสิ้นสุดในจ.หนองคายไม่ได้ข้ามไปสู่ประเทศลาว ในส่วนของระยะมาราธอนวิ่งผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแต่ก็ไม่ได้เห็นทัศนียภาพบนสะพานมากนักเพราะยังมืดอยู่ หากเป็นไปได้เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์และสมชื่อของงานวิ่งไทย-ลาวมาราธอน เส้นทางวิ่งจากหนองคาย (ไทย) สู่ เวียงจันทร์ (ลาว) เหมือนในปี 2546 น่าจะเป็นเส้นทางที่จะได้รับความสนใจและให้การตอบรับจากนักวิ่งมากกว่านี้
การจัดวิ่งข้ามประเทศจะเป็นงานที่มีความยุ่งยาก มีอุปสรรคมากพอสมควร รวมทั้งการจัดงานที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นไทย-ลาวมาราธอนจึงถือว่าเป็นมาราธอนที่ท้าทายทั้งผู้จัดและนักวิ่งไม่น้อยทีเดียว และหากมองถึงอนาคตสำหรับไทย-ลาวมาราธอน ที่สามารถวิ่งข้ามประเทศได้จริง วิ่งครั้งเดียวได้เที่ยวถึง 2 ประเทศเชื่อได้ว่าไม่เพียงนักวิ่งไทยเท่านั้นที่จะสนใจร่วมงานนี้แน่นอน และเพื่อให้ได้การสนับสนุนที่มากยิ่งขึ้นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ผู้จัดควรมีการวางแผนและประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนี้ งานวิ่งไทย-ลาวมาราธอนไม่จำเป็นที่จัดขึ้นทุกปีก็ได้ แต่ควรที่จะระยะเวลาในการจัดที่แน่นอนว่าจะจัดช่วงไหน เมื่อไหร่ และจะจัดขึ้นทุกๆกี่ปีก็ว่ากันไป
และในการจัดครั้งที่ผ่านมาสำหรับไทย-ลาวมาราธอน (หนองคาย) มาราธอน ก็ถูกประกาศให้นักวิ่งได้ทราบล่วงหน้ากันแทบไม่ถึงเดือน การประชาสัมพันธ์กระชั้นชิดสำหรับการจัดงานวิ่งมาราธอนถือว่าไม่เหมาะสักเท่าใดนัก นักวิ่งในระยะมาราธอนต้องการการฝึกฝนพอสมควร การแจ้งข่าวและประชาสัมพันธ์ในระยะเวลาอันกระชั้นชิดก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้นักวิ่งตัดสินใจไม่เข้าร่วมงานวิ่งนั้นๆเช่นกัน
หลังงานวิ่งจบลงแม้จะไม่มีเสียงบ่นก่นว่าตามหลังมาใช่ว่างานนั้นจะจัดได้ดีเยี่ยม หากแต่ว่างานวิ่งนั้นไม่มีนักวิ่งที่จะมาสะท้อนให้เห็นทำงานของผู้จัดเท่านั้นเอง ดังนั้นงานวิ่งที่มีนักวิ่งมากๆเสียงที่ตามมาย่อมสะท้อนให้ผู้จัดได้รู้ได้เห็นเป็นอย่างดีว่างานที่เราทำลงไปนั้นดีแค่ไหน มีผลตอบรับเป็นอย่างไร และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในการจัดงาน ไทย-ลาวมาราธอน หรือ หนองคายมาราธอน จะได้ยินเสียงตอบรับมากขึ้นกว่านี้ และขอเป็นกำลังใจให้กับผู้จัดที่จะจัดให้สนามนี้เป็นไทย-ลาวมาราธอนสมชื่อในอนาคต
ปล. ไทย-ลาวมาราธอนวิ่งข้ามประเทศ ควรที่จะเป็นอีกหนึ่งมาราธอนที่ได้รับการสนุนให้เป็นมาราธอนนานาชาติได้ ดังนั้นสมควรเป็นอย่างยิ่งที่สนามวิ่งนี้จะได้รับการสนุนให้มากยิ่งขึ้นจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
อาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2549
ณ อนุเสาวรีย์ปราบฮ่อ จ.หนองคาย
สรุปผลการประเมิน TRES: 75 คะแนน ใช้ได้ เกือบดี
เส้นทางการเดิน-วิ่ง: หนองคายมาราธอนปีนี้ปล่อยตัวเวลา 04.00 น. เส้นทางการแข่งขันสำหรับมาราธอนออกสตาร์ทจากอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ เลี้ยวไปเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว วิ่งย้อนกลับมาผ่านหน้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองบคาย เลี้ยงขวามาทางอุดรฯ กลับตัว กม. ที่15 แล้วย้อนกลับเข้าตัวเมืองหนองคาย เส้นทางการแข่งขันโดยส่วนใหญ่วิ่งบนไหล่ถนนลาดยางมีเนินสลับกับทางเรียบ การควบคุมการจราจรค่อนข้างดี ตามไหล่ทางก็ไม่มีเงาร่มไม้ให้หลบงานนี้ระยะมาราธอนก็วิ่งตากแดดเป็นเนื้อแดดเดียวกันไป ระหว่างเส้นทางการแข่งขันจุดให้น้ำมีบริการน้ำเย็นตลอด น้ำไม่มีขาด ส่วนที่ขาดก็คงจะเป็นป้ายบอกระยะที่บอกระยะขาดไปนิดหน่อยๆในช่วงต้นๆ เลยส่งผลให้ 1 กิโลสุดท้ายที่จะเข้าเส้นชัย กลายเป็น 2 กิโลกว่าๆเกือบ 3 กิโล
คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง: งานวิ่งหนองคาย (ไทย-ลาว) มาราธอนในครั้งนี้จัดขึ้นถึง 4 ระยะ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 10 21 และ 42 กม. ดังนั้นนักวิ่งทุกระดับไม่ว่าจะเป็นน้องใหม่หรือผู้เจนสังเวียนสามารถร่วมวิ่งงานนี้ได้ เส้นทางก็ไม่ยากเกินไปนัก แต่หากนักวิ่งท่านใดที่ลงในระยะมาราธอนก็อาจจะต้องทนร้อนกันนิดๆหน่อยๆเท่านั้นเอง
คำแนะนำสำหรับผู้จัด: งานนี้ภาพโดยรวมจัดได้ดีพอสมควร แต่เป็นที่น่าเสียดายที่นักวิ่งร่วมงานไม่มากนัก เพื่อให้งานวิ่งหนองคายหรือที่ผู้จัดอยากให้เป็นไทย-ลาวมาราธอน ประเด็นหลักที่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจของนักวิ่งที่จะเข้าร่วมงานนี้ นั่นคือเส้นทางการวิ่ง เส้นทางการวิ่งในครั้งนี้ยังเป็นเส้นทางที่ยังไม่เด่นมากนัก เป็นเส้นทางที่วิ่งบนไหล่ถนนในตัวจังหวัดหนองคาย เริ่มต้นและสิ้นสุดในจ.หนองคายไม่ได้ข้ามไปสู่ประเทศลาว ในส่วนของระยะมาราธอนวิ่งผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแต่ก็ไม่ได้เห็นทัศนียภาพบนสะพานมากนักเพราะยังมืดอยู่ หากเป็นไปได้เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์และสมชื่อของงานวิ่งไทย-ลาวมาราธอน เส้นทางวิ่งจากหนองคาย (ไทย) สู่ เวียงจันทร์ (ลาว) เหมือนในปี 2546 น่าจะเป็นเส้นทางที่จะได้รับความสนใจและให้การตอบรับจากนักวิ่งมากกว่านี้
การจัดวิ่งข้ามประเทศจะเป็นงานที่มีความยุ่งยาก มีอุปสรรคมากพอสมควร รวมทั้งการจัดงานที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นไทย-ลาวมาราธอนจึงถือว่าเป็นมาราธอนที่ท้าทายทั้งผู้จัดและนักวิ่งไม่น้อยทีเดียว และหากมองถึงอนาคตสำหรับไทย-ลาวมาราธอน ที่สามารถวิ่งข้ามประเทศได้จริง วิ่งครั้งเดียวได้เที่ยวถึง 2 ประเทศเชื่อได้ว่าไม่เพียงนักวิ่งไทยเท่านั้นที่จะสนใจร่วมงานนี้แน่นอน และเพื่อให้ได้การสนับสนุนที่มากยิ่งขึ้นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ผู้จัดควรมีการวางแผนและประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนี้ งานวิ่งไทย-ลาวมาราธอนไม่จำเป็นที่จัดขึ้นทุกปีก็ได้ แต่ควรที่จะระยะเวลาในการจัดที่แน่นอนว่าจะจัดช่วงไหน เมื่อไหร่ และจะจัดขึ้นทุกๆกี่ปีก็ว่ากันไป
และในการจัดครั้งที่ผ่านมาสำหรับไทย-ลาวมาราธอน (หนองคาย) มาราธอน ก็ถูกประกาศให้นักวิ่งได้ทราบล่วงหน้ากันแทบไม่ถึงเดือน การประชาสัมพันธ์กระชั้นชิดสำหรับการจัดงานวิ่งมาราธอนถือว่าไม่เหมาะสักเท่าใดนัก นักวิ่งในระยะมาราธอนต้องการการฝึกฝนพอสมควร การแจ้งข่าวและประชาสัมพันธ์ในระยะเวลาอันกระชั้นชิดก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้นักวิ่งตัดสินใจไม่เข้าร่วมงานวิ่งนั้นๆเช่นกัน
หลังงานวิ่งจบลงแม้จะไม่มีเสียงบ่นก่นว่าตามหลังมาใช่ว่างานนั้นจะจัดได้ดีเยี่ยม หากแต่ว่างานวิ่งนั้นไม่มีนักวิ่งที่จะมาสะท้อนให้เห็นทำงานของผู้จัดเท่านั้นเอง ดังนั้นงานวิ่งที่มีนักวิ่งมากๆเสียงที่ตามมาย่อมสะท้อนให้ผู้จัดได้รู้ได้เห็นเป็นอย่างดีว่างานที่เราทำลงไปนั้นดีแค่ไหน มีผลตอบรับเป็นอย่างไร และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในการจัดงาน ไทย-ลาวมาราธอน หรือ หนองคายมาราธอน จะได้ยินเสียงตอบรับมากขึ้นกว่านี้ และขอเป็นกำลังใจให้กับผู้จัดที่จะจัดให้สนามนี้เป็นไทย-ลาวมาราธอนสมชื่อในอนาคต
ปล. ไทย-ลาวมาราธอนวิ่งข้ามประเทศ ควรที่จะเป็นอีกหนึ่งมาราธอนที่ได้รับการสนุนให้เป็นมาราธอนนานาชาติได้ ดังนั้นสมควรเป็นอย่างยิ่งที่สนามวิ่งนี้จะได้รับการสนุนให้มากยิ่งขึ้นจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
Labels: งานวิ่ง, จ.หนองคาย, ประเมินสนามวิ่ง, มาราธอน
Post a Comment