ขอถวายความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

« Home | สงกรานต์มาราธอน ครั้งที่19 » | 2 ทศวรรษโรงไฟฟ้าบางปะกงมินิมาราธอน » | เริ่มการวิ่งแข่งขันสนามแรกในวันที่ 29 ธันวาคม 2544 » | สถิติการวิ่ง "มาราธอน" ที่ประสพความสำเร็จ » | สถิติการวิ่งทั้งหมด...เท่าที่พอจะจำได้ 2544-2547 » | สถิติการวิ่งทั่วไป 2548 » | สถิติการวิ่งทั่วไป ปี 2549 » | สถิติการวิ่งทั่วไป ปี 2550 »

พันท้ายนรสิงห์มินิ-ฮาล์ฟมาราธอน ครั้งที่6

พันท้ายนรสิงห์มินิ-ฮาล์ฟมาราธอน ครั้งที่6
วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2548
ณ ศาลพันท้ายนรสิงห์ จ.สมุทรสาคร
สรุปผลการประเมิน TRES: (78 คะแนน) การจัดงานเกือบดี

เส้นทางการวิ่ง: เป็นระยะมินิ และ ฮาล์ฟมาราธอน วิ่งไปกลับเส้นทางเดิม 10 กิโลเมตร และ 21 กิโลเมตร เส้นทางการแข่งขันเป็นเส้นทางเรียบภูมิประเทศ (Cross-country) ไม่มีเนินสูงๆ มีแต่เพียงเนินสะพานเตี้ยๆ บรรยากาศข้างทางเป็นนากุ้ง ไม่มีเงาไม้หรือร่มไม้ให้หลบแดด ทั้งมินิและฮาล์ฟมาราธอนปล่อยตัวพร้อมกันเวลา 06.00 น. การจัดวิ่งในช่วงเดือนเมษายนหรือหน้าร้อนอย่างนี้ ทำให้บรรยากาศและสภาพอากาศขณะแข่งขันร้อนถึงร้อนมากเลยทีเดียว

คำแนะนำสำหรับนักวิ่ง: งานวิ่งพันท้ายนรสิงห์ได้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่6 โดยใช้เส้นทางเดิม แต่อาจมีบางครั้งที่จัดในช่วงเย็น ลักษณะของบรรยากาศก็แทบแตกต่างกันไม่มากนัก อาจเป็นเพราะจัดในช่วงเดือนเมษาหน้าร้อนและอยู่ติดริมทะเลนั่นเอง เลยทำให้สภาพอากาศร้อน อุณหภูมิสูงกว่าปกติ ดังนั้นจะว่าไปแล้วเส้นทางการวิ่งนี้ก็ไม่ยากสักเท่าใดนัก แต่ว่านักวิ่งควรฝึกซ้อมมาบ้างในสภาพอากาศที่ร้อนๆ และการตัดสินใจที่จะลงวิ่งระยะมินิหรือฮาล์ฟควรพิจารณาให้ดี และเมื่อลงไปแล้วก็ควรตระหนักถึงสภาพร่างกายไว้บ้าง สนามนี้เห็นไม่มีอะไรมากมายแต่มันก็ไม่ง่ายอย่างที่คุณคิดหรอกนะคะ

คำแนะนำสำหรับผู้จัด: การจัดในครั้งถือได้ว่าเกือบดีแล้ว อาจขาดตกบกพร่องไปบ้างเล็กๆน้อยๆ แต่ในประเด็นหลักๆก็ถือได้ว่านักวิ่งได้รับประโยชน์จากการจัดงานในครั้งนี้กันพอสมควร อบต.พันท้ายนรสิงห์และชมรมวิ่งมหาชัยได้ร่วมด้วยช่วยกันในการจัดงานในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการร่วมมือร่วมใจกันระหว่างนักวิ่งและชุมชนซึ่งจะเป็นตัวอย่างทีดีให้กับอีกหลายๆชุมชนที่จะนำไปปฏิบัติ และอีกสิ่งหนึ่งที่อยากฝากไว้สำหรับผู้จัด คือการตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมในชุมชน ในบริเวณศาลพันท้ายนรสิงห์เป็นเสมือนแหล่งพักผ่อนและแหล่งท่องเที่ยวของคนในชุมชนและผู้ที่ผ่านไปมา ดังนั้นการจัดให้มีถังขยะในบริเวณนั้นก็จะเป็นสิ่งที่สร้างภาพพจน์ดีๆให้กับชุมชนได้มากขึ้น และตามเส้นทางการวิ่งหากเป็นไปได้ก็อยากให้ผู้จัดมีถังขยะไว้รองรับแก้วน้ำแข็งที่ใช้แล้วบ้างเช่นกัน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ตัวนักวิ่งเองได้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมบ้าง

Labels: , ,

วิทยุออนไลน์ 90.0 Sport Radio

99 FM เมืองไทยแข็งแรง